วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไปทำความรู้จักกับ อาจารย์ปิง เจริญศิริวัฒน์ แห่งสถาบันกวดวิชา Da’vance


ไปทำความรู้จักกับ อาจารย์ปิง เจริญศิริวัฒน์ แห่งสถาบันกวดวิชา Da’vance ติวเตอร์ภาษาไทย – สังคม
ที่รักของเด็กๆ ทุกคน ซึ่ง
ต่างพูดมาเป็นเสียงเดียวกันว่าประทับใจในการสอน “เคลียร์ไม่มีคาใจ” และความ
เป็นคนดีของอาจารย์ปิง ฮอตฮิตติดท็อป 5 ของเมืองไทยตลอด

พี่ผึ้ง : ขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำตัวหน่อยคะ
อ.ปิง : ชื่อ ปิง เจริญศิริวัฒน์ จบจากสาขาบริหารงานบุคคล คณะพาณิชยศาสตร์
และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คะ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนสถาบัน DA'VANCE
และเป็นอาจารย์พิเศษระดับมัธยมปลายทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน


พี่ผึ้ง : ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งสถาบันกวดวิชาดาว้องก์
อ.ปิง : ความหมายของ Da'vance (ดาว้องก์) มาจาก D'AVANCEซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส
แปลว่า ความก้าวหน้า แต่ด้วยเกรงว่าจะไม่สามารถอ่านได้หรือออกเสียงได้ลำบาก
จึงเปลี่ยนมาอ่านว่า ดา-ว้องก์ และเปลี่ยนวิธีการเขียนใหม่เป็น Da'vance ในการก่อตั้ง
“ดาว้องก์” จริงๆ แล้วเกิดขึ้นจากตัวครูเอง เริ่มการสอนครั้งแรกบนโต๊ะปิงปองกับกลุ่ม
นักเรียนรุ่นแรกในละแวกบ้าน ที่เป็นนักเรียนสายศิลป์ - คำนวณ โดยสอนทุกวิชายกเว้น
แต่เพียงวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพเท่านั้น นักเรียนก็เริ่มให้ความนิยมสมัครเรียน
มากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมา ครูก็หันมาสนใจและให้สำคัญกับการสอนในวิชาสังคมศึกษา
และวิชาภาษาไทยมากขึ้น
ซึ่งครูเห็นว่าเป็นวิชาที่มีคนสอนและใส่ใจน้อย และสอน 2 วิชานี้มาตลอดจน
กระทั่งในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าวิชาสังคมและภาษาไทยนั้น เป็นวิชาที่มีความสำคัญมาก
ในการสอบเอนทรานซ์ ของนักเรียนสายศิลป์ และจากความนิยมของนักเรียนตรงนั้น
เป็นต้นมา ทำให้ครูต้องเปิดห้องเรียนสอนจากห้องเล็ก เล็กขนาด 25-30 คน ขึ้นมาถึง
ห้องละ 70-80 คน จนต้องขยายเพิ่มมาเป็นห้องละ 100 คน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของนักเรียนที่มาสมัครเรียน ห้อง VDO ที่ถ่ายทอดตรงจากห้องสดจึงเกิด
ขึ้นมา และเพื่อแก้ปัญหาที่ผู้ปกครองขอร้องกันมาว่าลูกหลานของตนยังไม่มีที่เรียน
โรงเรียนจึงถูกขยายจากฝั่งถนนเดียวมาเป็นสองฝั่งถนน และกระจายสาขาออกไปคะ


พี่ผึ้ง : ตอนนี้สถาบันกวดวิชาดาว้องก์มีทั้งหมดกี่สาขา ที่ไหนบ้างคะ
อ.ปิง : ในกรุงเทพ 8 สาขา ดังนี้ สาขาเยาวราช เปิดเป็นสาขาแรกและสาขาเดียวที่มี
รอบสด สาขาบางกะปิ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาวิสุทธิกษัตริย์ สาขางามวงศ์วาน
สาขาสยามสแควร์ สาขาเซ็นจูรี่ สาขาสุขสวัสดิ์ ในต่างจังหวัด 12 สาขาดังนี้ สาขาชลบุรี
สาขาราชบุรี สาขาเชียงใหม่ สาขาพิษณุโลก สาขานครสวรรค์ สาขาขอนแก่น
สาขานครราชสีมา สาขาอุบลราชธานี สาขาหาดใหญ่ สาขาภูเก็ต สาขาสุราษฎร์ธานี
สาขานครศรีธรรมราช

พี่ผึ้ง : ตราสัญลักษณ์ของดาว้องก์ มีรูปแบบและความหมายอย่างไรคะ
อ.ปิง : ส่วนตราสัญลักษณ์ของดาว้องก์ นั้น เป็นรูปก้อนอิฐที่เรียงกัน 9 ก้อน ที่มีอิฐก้อน
หนึ่งเอียงอยู่ ซึ่งความหมายของสัญลักษณ์ อิฐ 9 ก้อน มีดังนี้ คือ Da'vance แปลว่า
ความก้าวหน้า ซึ่งสถาบันดาวองก์ก็คือ สถาบันที่สร้างความก้าวหน้าให้กับนักเรียน หรือ
คือการ "ก่อสร้าง" ความรู้ให้นักเรียน "ก้าวหน้า" แต่แน่นอนที่สุดการที่จะทำได้ผล
คงไม่ได้ อาศัยแต่อาจารย์แต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องอาศัยการรู้จักคิดและพลิกแพลงของ
นักเรียนด้วย ในบรรดาอิฐทั้ง 9 ก้อนนั้นจะมีอยู่ 8 ก้อน ที่เรียงตั้งตรง หมายถึง ความรู้ที่
อาจารย์ได้สร้างให้นักเรียนอย่างมากมาย ส่วนอิฐที่เหลืออีก 1 ก้อนนั้น ที่เอียงอยู่ยัง
ไม่ตั้งตรง นั้นหมายความว่า ความคิดพลิกแพลงของนักเรียน ที่นักเรียนจำจะต้อง
ประยุกต์ และนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ซึ่งถ้านักเรียน
สามารถคิดหรือพลิกแพลง ให้อิฐอีกก้อนตั้งตรงได้ อิฐทั้งหมดก็จะตรงไม่ล้มครืน และมี
ความมั่นคง อันมีความหมายโดยรวม ว่าคุณครูผู้สอนช่วยชี้แนะแนวทางให้ส่วนการลง
มือปฏิบัติเพื่อให้ประสบผล สำเร็จนั้นเป็นหน้าที่ของนักเรียนคะซึ่งการใช้สัญลักษณ์เช่นนี้
จึงเป็นเหมือนการเตือนนักเรียนว่าการจะก้าวหน้าได้ ต้องรู้จักการพลิกแพลงด้วยนั่นเอง

พี่ผึ้ง : แรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้อาจารย์เลือกมาสอนวิชาภาษาไทย – สังคมคะ
อ.ปิง : ตั้งแต่เด็กๆ จำได้ว่าอยากเป็นครูมาโดยตลอดค่ะ แม้ว่าจะมีคนมาถามบ่อยๆ ว่าทำไม อ.ปิงถึงมาเป็น
ครูสอนวิชาภาษา ไทย – สังคม ทั้งที่จบคณะบัญชี ทำไมไปสอน
วิชาคณิตศาสตร์ แต่กลับมาสอนไทย-สังคม ก็เลยบอกว่าเป็นคนคิดอย่างไรก็ทำอย่าง
นั้น และตัวครูเองอยากเป็นครูมาตั้งแต่เด็กๆ แม้ว่าอาจจะทำอย่างอื่นๆได้ แต่ก็ไม่ทิ้ง
สิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆ นั่นคือการเป็น “ครู” ก็เลยสอนมาโดยตลอดคะ
ส่วนที่มาสอนไทย-สังคมก็เพราะว่า จริงๆ วิชาที่ครูถนัดมากๆและเรียนได้ในระดับท็อป
มีอยู่ 4 วิชา คือ ไทย สังคม เลข อังกฤษ แต่ใน 4 วิชานี้ ตัวที่ถนัดที่สุดคือเลข
เพราะว่ามันเป็นอะไรที่ตายตัว บางคนอาจจะว่ายาก อย่างตรีโกณ พอครูเห็นโจทย์ก็
รู้ว่ามันต้องคิดอย่างไรให้เร็ว เห็นโจทย์ครูสามารถตีออก แต่อย่างวิชาอังกฤษที่เป็น
ปัญหาสำหรับตัวครูเอง คือ การที่เราต้องออกเสียงสำเนียงให้เป็นอังกฤษ แต่โดย
ธรรมชาติเราเรียนเพื่อเอามาอ่าน หรือเอามาเขียนมากกว่าที่เราจะเอามาฟัง เพราะแบบ
นั้นมันก็มีปัญหา ส่วนวิชาสังคมถึงแม้ว่าจะได้คะแนนท๊อปแต่รู้สึกว่ามันยังไม่ได้มีความ
เป็นหนึ่งเพราะว่าสังคมจริงๆ ต้องรู้ลึก ต้องรู้อะไรมากกว่านี้ คืออย่างเช่น เรามานั่งท่อง
ชื่อภูเขาแต่เรายังไม่เคยเห็น เราจะรู้ได้อย่างไร ฉะนั้นใน 4 วิชานี้โดยส่วนตัวแล้วถือว่า
วิชาสังคมมันยากเพราะมันกว้างและจะให้รู้จริงคะ
ที่นี้ต่อมาพอเรียนสอบ Pre – entranceเป็นที่หนึ่งของประเทศในการสอบคณิตศาสตร์
แววออกทางคณิตศาสตร์ อาจารย์ก็เรียกไปพบแล้วถามว่า เธอเรียนสายศิลป์ทำไม
เธอได้ท๊อปเลขมากกว่าห้องวิทย์อีก อาจารย์เขาว่าเธอมีความสามารถด้านนี้ แต่ทำไม
เธอคิดคับแคบมาเลือกเรียนสายศิลป์ แล้วพูดต่อว่า เธอรู้ไหมพวกที่เรียนสายศิลป์
เป็นพวกที่ไม่มีความคิดมาเรียน ตัวครู(อ.ปิง)ก็เลยมีความรู้สึกว่า อาจารย์เขาสอนวิทย์
แต่ก็ไม่น่าไปดูถูกคนที่เขาถนัดอีกสายหนึ่ง ซึ่งถ้าทุกคนคิดแบบนี้หมดแล้วเมื่อไรจะเกิด
สายศิลป์ที่ดี เมื่อไรจะมีคนที่เข้าใจถูกต้อง ครู(อ.ปิง)ก็เลยตั้งใจว่าเมื่อไรที่เป็นครูแล้ว
เราจะเป็นครูทางสายศิลป์ และยังเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าเราไม่เริ่มก็จะไม่มีเลย ฉะนั้น
เราต้องทำอันนี้เป็นจุดยืนของตัวครูเอง



พี่ผึ้ง : อาจารย์เริ่มสนใจการสอนตั้งแต่เมื่อไรคะ
อ.ปิง : ครูเองเริ่มการสอน จากการติวเพื่อนๆ ในกลุ่ม และเพื่อนร่วมชั้น ตั้งแต่เรียนอยู่ที่
มัธยมปลาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยเพื่อนบอกว่า ครูเก่งเลขก็มาติว
เลขสิ ดังนั้นช่วงเย็นก็ติวให้เพื่อนทุกวัน เพราะอยากเป็นครูในอนาคต และเพื่อนๆ นั่ง
ฟังกันเงียบและจดตามที่เราพูด และบอกว่าเราสอนดี เข้าใจง่าย เราได้ยินดีใจ ปลื้ม
ด้วยว่า เราก็สอนได้ดีเหมือนกัน ก็เลยติวมาเรื่อยๆ คะ
และพอเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยก็ยังมีรับสอนพิเศษเรื่อยมา จริงๆ ตอนแรกมีสอน
คณิตศาสตร์ ซึ่งมีน้องๆ เด็กๆ มาเรียนกันเราเยอะ แต่เพราะไม่อยากแย่งเพื่อนสอนเลย
หันไปสอนวิชาอื่นที่เราก็ถนัดเหมือนกันแทน ซึ่งครูเลือกสอนวิชาภาษาไทย เพราะวิชา
ที่ครูชอบและคิดว่าน่าจะสอนออกมาได้ดีที่สุด เพราะมันมีหลักค่อนข้างตายตัว และเป็น
ภาษาพ่อภาษาแม่ของเราเอง ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสำเนียง เหมือนภาษาอังกฤษ ซึ่ง
จริงๆ ครูก็สอนได้นะ แต่ถ้าทำให้ออกมาได้ไม่ดีที่สุดก็ไม่อยากทำ อย่างถ้าเจ้าของ
ภาษาเขามาฟัง และเกิดบอกว่า สำเนียนของยูไม่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่เป็นติวเตอร์ดังคงอาย
เขาตายเลย
ส่วนสังคม โดยส่วนตัวครูคิดว่า ถ้าจะสอนให้ได้ดีจะต้องมีประสบการณ์มากในระดับ
หนึ่งเพราะสังคมเป็นวิชาที่กว้างมากและจะให้รู้จริงรู้แน่น ทั้งคม ทั้งชัด ทั้งลึกซึ่งเราต้อง
ศึกษาอีกนาน ไม่ใช่ศึกษาแค่มัธยมศึกษาตอนปลายหรือมหาวิทยาลัยแล้วจะจบ
แค่ตรงนั้น ครูคิดว่าประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดคะ แม้ว่าเราจะไม่ได้จบมาโดยตรง
เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านนี้เราสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ และต้องใช้ประสบการณ์
ในการสั่งสมความรู้ เทคนิคการสอน ซึ่งตอนนี้ครูคิดว่าตัวเองสอนดีกว่าตอนแรกที่เริ่ม
สอนอีก ประมาณ “ขิงยิ่งแก่ ยิ่งร้อนแรง” คะ


พี่ผึ้ง : แนวการสอน หรือสไตล์การสอนของอาจารย์เป็นอย่างไรคะ
อ.ปิง : เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเฟคเป็นอารมณ์แบบใสๆ เวลาเราคุยกับเด็กอยู่กับเด็ก
เราจะตลกอะไรก็ได้ สอนให้สนุก เรียนแล้วมีความสุข ให้เป็นความเป็นกันเองและมี
ความอบอุ่นใกล้ชิดกันระหว่างตัวผู้สอน คือ ตัวครูเอง (อ.ปิง) กับนักเรียน ซึ่งตัวครูเอง
รู้สึกว่า มีความสุขที่ได้อยู่ในห้องเรียน แล้วมีความสุขทุกครั้งที่จบการสอน เห็นเด็กบาง
คนนั่งหลับเราก็เดินไปหา เพื่อนๆเค้า ก็จะบอกว่าอาจารย์เดินมา แต่เราก็เข้าใจนะว่า
เด็กบางคนเล่นกีฬามาเขาก็เหนื่อย เราก็ให้เราพักก่อนไม่เคยจะไปด่าเขาว่าเธอลุกขึ้น
มาเรียนนะ หรือถ้าเด็กคุยกันในห้อง ครูก็มีวิธีคือ เราต้องพยายามเข้าใจเขาก่อนว่า เรา
สอนน่าเบื่อหรือเขากำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่ ไม่ใช่มาถึงด่าเขาเลย เด็กบางคนพอด่าเขา
เขาก็จะต้านเราทันทีว่าอาจารย์ไม่มีเหตุผล ซึ่งเด็กสมัยนี้ ไม่กลัว อาจารย์จะสอนเขาได้
เราต้องได้ใจเขาก่อน ไม่ใช่บังคับเด็กให้มาเรียนเพราะถ้าเขาไม่ชอบเขาก็ไม่เรียนเลย
และเวลาที่สอน ครูเน้นพูดให้รู้เรื่อง บรรยากาศในห้อง ไม่ใช่พูดคนเดียว แต่ดึง
ลูกศิษย์คนนั้นคนเนี้ยเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนหัวข้อเรื่องจะดูว่าเขากำลังสนใจเรื่องอะไร


ดารา นักร้องคนไหน วิจารณ์เรื่องต่างๆ นานา หาเรื่องตลกขบขัน เรื่องผี จิตวิญญาณ
มีเรื่องพูดมากมาย ยกตัวอย่างเช่น สอนเรื่องขุนช้างขุนแผน ครูก็จะเล่าเวอร์ชั่นวัยรุ่น
ผสมมุกฮา ใส่สีตีไข่เข้าไป เด็กๆจะหัวเราะไม่ใช่เล่าเรื่องตามตำราไปเรื่อยๆ ถ้าลักษณะ
นั้นนั่งอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านก็ได้ หรือครูก็เอาประสบการณ์จริง ที่เราไปเจอมาเล่าให้
เด็กฟัง ซึ่งครูจะเน้นว่า เราสอนเด็กต้องเข้าใจ เราต้องการให้เด็กมาเรียนเพื่อด้วยความ
สนุก ไม่ใช่มาเรียนเพื่อมาเล่นหรือมาหลับในห้อง
โดยกว่าจะสอนอย่างนี้ได้ ครูต้องทำการบ้านเยอะมาก ต้องเข้าไปอ่านค้นคว้าข้อมูล
ซึ่งสำรวจทีละหลายอันจากเว็บไซต์หลายแหล่ง ก่อนจะเลือกนำมาใช้ประกอบการสอน
คะ ไม่ใช่ว่าจะเอาอะไรมาเล่าก็ได้ เราต้องศึกษาดูว่า อะไรที่เด็กควรต้องรู้เหตุการณ์
อะไรในปัจจุบันและอะไรที่อินเทรนด์ ฯลฯ อย่างคอร์สหนึ่งเรียน 2 ชั่วโมง แต่ต้องใช้
เวลาเตรียมหัวข้อหรือค้นหาข้อมูลเรื่องราวไว้มากกว่า 5 ชั่วโมง พูดง่ายๆ เตรียมไว้
หลายเวอร์ชั่นในเรื่องเดียวกัน ซึ่งเด็กรุ่นนี้ครูอาจสอนแบบหนึ่ง อีกรุ่นจะอีกเวอร์ชั่น
หนึ่ง แต่สุดท้ายเด็กมีความรู้เหมือนกัน



พี่ผึ้ง :สถาบันกวดวิชาดาว้องก์เป็นสอนสดหรือวีดีโอคะ
อ.ปิง :สอนสดจะมีอยู่แห่งเดียว คือสาขาเยาวราชคะส่วนสาขาอื่นจะเป็นวีดีโอหมดคะ


พี่ผึ้ง : อาจารย์คิดว่าการเรียนสอนสด และวิดีโอแตกต่างกันอย่างไร
อ.ปิง : ครูว่าไม่แตกต่างกันมากนะค่ะ อาจจะมีแตกต่างกันที่บรรยากาศการเรียนเพียง
นิดหน่อย ซึ่งแต่ละแบบทั้งรอบสอนสด และรอบวิดีโอ มันก็บรรยากาศสนุกสนานเฮฮา
กันไปคนละแบบ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความรู้ที่ได้รับนั้น ครูว่าถ้านักเรียนมีความตั้งใจอยู่แล้ว
ได้เท่ากันแน่นอน ซึ่งมีนักเรียนหลายคนอาจจะคิดว่าเรียนรอบสอนสดจะได้ความรู้และ
เข้าใจในเนื้อหามากกว่าเรียนรอบวิดีโอ ซึ่งครูขอบอกเลยว่าไม่ใช่เลย โดยถ้าวัดจาก
ที่ผ่านมานักเรียนของดาว้องที่สอบแอดมิชชั่นได้อันดับต้นๆของประเทศส่วนใหญ่จะมา
จากรอบวิดีโอแทบทั้งสิ้น ดังนั้นครูมันไม่แตกต่างกันเลยที่จะเรียนรอบสอนสด หรือ
วิดีโอมันอยู่ที่ความตั้งใจ และของนักเรียนมากกว่าค่ะ

พี่ผึ้ง : ปัจจุบันมีคอร์สที่เปิดสอนทั้งหมดเท่าไร อะไรบ้างคะ
อ.ปิง : Da’vance จะเปิดสอนวิชาภาษาไทย-สังคม ในระดับมัธยมปลาย มีคอร์สหลักๆ
ทั้งหมด 7 คอร์ส ดังนี้ ม. 4 Sem 1 , ม. 4 Sem 2 , ม. 5 Sem 1 , ม. 5 Sem 2 ,
ล่วงหน้า ม. 6 , คอร์ส Intensive สรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทยและสังคมทั้งหมด
(ม.4 – ม. 5 – ม.6) และคอร์สตะลุยโจทย์ หรือ Turbo ฝึกทักษะการทำโจทย์เพื่อ
ให้เห็นแนวข้อสอบ และแนวการตอบให้ตรงแนวข้อสอบ O-NET และ A-NET
มากที่สุดคะ

พี่ผึ้ง : การเปลี่ยนแปลงระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นระบบแอดมิชชั่น มีผลกระทบ
ต่อวิชาภาษาไทยและสังคมอย่างไร
อ.ปิง : ครูว่าในส่วนของตัววิชาแล้วไม่มีผลกระทบนะค่ะ แต่อาจจะหนักหน่อยในส่วน
ของผู้ที่สอบ ก็คือกลุ่มนักเรียน ม.6 ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี่แหละค่ะ เพราะครูขอ
บอกเลยว่าคนที่ออกข้อสอบแอดมิชชั่นเดี๋ยวนี้นั่นเก่งมากๆ ซึ่งออกได้ครอบคลุม
ทุกเนื้อหาวิชาเลย อย่างวิชาสังคมเนี้ย ในโลกมีทั้งหมดกี่ทวีป ในข้อสอบก็จะออก
หมด และจะไม่ถามแค่เรื่องรอบตัวเท่านั้นด้วยนะค่ะ ยังมีการเจาะลึกแบบว่า ชนเผ่า
นี้อยู่ส่วนใดของทวีป หรือ ทวีปนี้ใช้กี่ภาษา ซึ่งต้องบอกเลยว่าผู้ออกข้อสอบนั้นเก่งเพราะออกข้อสอบได้ครอบคลุมและลึกมากๆ เลยค่ะ ทุกวันนี้ครูเลยเรียกการเรียน
วิชาสังคมว่า เป็นการเรียนวิชา “ฟูเฮาส์” เพราะข้อสอบออกได้ละเอียดมากๆผู้เรียนเลยต้องเรียนแบบหัวฟู ก็ประมาณนี้นะค่ะ

พี่ผึ้ง : แนวข้อสอบแอดมิชชั่น ในวิชาภาษาไทยและสังคม มีทิศทางอย่างไร
และเน้นไปที่เนื้อส่วนไหนเป็นพิเศษ
อ.ปิง : อย่างวิชาภาษาไทยเนี้ย ครูพอจะคาดเดาได้นะค่ะว่าจะออกแนวไหน ซึ่งแต่ละ
ปีก็จะออกพวกสระ วรรณยุกต์ และก็วรรณกรรมวรรณคดีต่างๆ ซึ่งโจทย์แต่ละข้อก็จะ
ให้ประมาณให้ตีความหมาย ว่าสื่อถึงอะไร เรื่องนี้ผู้แต่งแสดงความรู้สึกอย่างไร แต่
อย่างวิชาสังคมเนี้ย เรียกได้ว่าคาดเดาได้ยาก เพราะอย่างที่บอกว่า ผู้ออกข้อสอบนั้น
เก่งจริงๆ คือเราจะไม่รู้เลยว่าในแต่ละปีเขาเลือกออกส่วนไหน เช่น ปีนี้เขาหยิบเอา
ทวีปอะไรมาออก หรือปีถัดไปเลือกเอาวัฒนธรรมของชนเผ่าใดมาออก จึงก็อยากจะ
ฝากบอกนักเรียนว่า วิชาสังคมนี้ต้องอาศัย ความจำบวกกับความเข้าใจเป็นหลักเลย
แต่ส่วนใหญ่ในแต่ละปีที่ออก หัวข้อก็จะตามที่เราเรียน แต่พวกรายละเอียดอาจจะ
ต้องไปค้นคว้ามาเพิ่มเติม

พี่ผึ้ง : สถาบันกวดวิชาดาว้องก์มีโครงการตอบแทนสังคมในรูปแบบอื่นๆหรือไม่อย่างไร
อ.ปิง : อันนี้เป็นความรู้สึกตอนเด็กๆ ที่ครูอยากจะช่วยเหลือคนที่เขาเดือดร้อน ซึ่งครู
ก็คิดว่า ถ้าวันหนึ่งเรามีเงินจะทำบุญ พอมาถึงจุดนี้ก็ไม่ลืมว่าความฝันตอนเด็กคืออะไร
ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ที่ครูเขียนหนังสือเฉลยข้อสอบขาย พอได้เงินก้อนมาเป็นแสนก็แบ่งให้
บ้านพักคนชราที่บางแค โรงพยาบาลสงฆ์ แล้วก็บ้านเด็กอ่อนพญาไท หรืออย่างครูรัก
"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ" มาก ได้ยินมาว่า พระองค์กำลังหา
เงินเข้าโรงพยาบาลศิริราช เพื่อสร้างตึกเฉลิมพระเกียรติ เราเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คขายแล้ว
ได้เงินมาก็นำไปมอบให้โรงพยาบาลศิริราช และอย่างทุกคอร์สที่เราเปิดก็จะเรียกมูลนิธิ
หนึ่งมารับเงิน ก็จะอนุโมทนาบุญให้กับผู้ปกครองและเด็กด้วย เราไปทำบุญก็ทำในนาม



พี่ผึ้ง : ในฐานะที่เป็นครูสิ่งใดที่ทำให้รู้สึกภูมิใจและประทับใจ คืออะไร
อ.ปิง : สิ่งที่ครูภูมิใจมากที่สุด ก็คงจะเป็นการที่ได้เป็นครูนี่แหละค่ะ เพราะตัวครูเอง
ก็ไม่ได้เรียนทางด้านสายครูมา ไม่ได้จบวุฒิสำหรับประกอบอาชีพครูอาจารย์ แต่ครูมี
ใจรักและศรัทธาในความเป็นครู สิ่งนี้แหละค่ะที่ทำให้ครูภูมิใจ เวลาครูไปเยี่ยมตาม
สาขาต่างๆ ก็จะมีนักเรียนมารอต้อนรับครูมากมายหลายคนเลย และเวลาที่จะกลับ ก็จะ
มีบางคนวิ่งไปแอบร้องไห้ในห้องน้ำ เพราะไม่อยากให้กลับ บางคนก็วิ่งมาขอจับมือครู
ซึ่งทุกอย่างมันเป็นการแสดงออกถึงความรักที่นักเรียนมีให้ครู และทุกวันนี้ครูก็ได้ยึดถือ
มาโดยตลอดว่า ครูจะรักนักเรียนทุกคนให้มากกว่าที่นักเรียนทุกคนรักครู

พี่ผึ้ง : อาจารย์อยากฝากอะไรถึงน้องๆชาวเด็กดีที่กำลังศึกษาอยู่คะ
อ.ปิง : ภาษาไทยและสังคมเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตนะค่ะ เพราะในแต่
ละวันนอกจากเราจะต้องใช้ภาษาแล้ว สังคมก็เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่จะทำให้นักเรียนอยู่
ร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุขค่ะ และสำหรับนักเรียนที่เตรียมจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ในปี 51 นี้นะค่ะ อย่ามัวแต่ไปเครียดว่าจะทำไม่ได้ ให้ลองสู้ดูซักตั้งหนึ่ง และพยายาม
ทำให้เต็มที่ ส่วนผลจะออกมาอย่างไร นักเรียนทุกคนจะภูมิใจกับมันเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น