วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เภสัชศิลปากร ผ่อนทุกข์ภัยน้ำท่วม จิตอาสาผลิตยาน้ำกัดเท้า


อีกแรงพยุงพี่น้องไทยฝ่าวิกฤตน้ำท่วม มาจากจิตอาสาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยศักยภาพและความสามารถแห่งวิชาชีพ คือการ ผลิตยาสำหรับทาเพื่อป้องกันและรักษาโรคน้ำกัดเท้า

ภญ.รศ.ดร.จุไรรัตน์ นันทานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อเป็นองค์กรสร้างปัญญาทางเภสัชศาสตร์สู่สังคมระดับนำของประเทศ คณะจึงมีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นการให้บริการด้านวิชาการและวิชาชีพสู่สังคม โดยได้ช่วยประสานงานและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการโครงการ และคณะยังได้รับบริจาคสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยามาสมทบจากหน่วยงานภาคเอกชน ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาด้วย และได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาทุกระดับชั้น เพื่อเป็นอีกช่องทางบรรเทาทุกข์ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยป้องกันโรคน้ำกัดเท้า ภัยอย่างหนึ่งที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้าน ภญ.ผศ.ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม เปิดเผยว่า เมื่อได้ทราบข่าวปัญหาสุขภาวะของผู้ ที่ประสบภัยน้ำท่วม ภาควิชาเทคโน โลยีเภสัชกรรม จึงได้จัดทำโครง การผลิตยาขี้ผึ้งสำหรับโรคน้ำกัดเท้าเพื่อมอบให้กับชุมชนที่ประสบภัยในภูมิภาคต่างๆ และเพื่อเป็นบริการทางวิชาการแก่สังคม นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการมีจิตสาธารณะกับกิจกรรมของนักศึกษา และหวังว่าคณะจะสามารถเป็นที่พึ่งพิงในเรื่องยาและสุขภาพต่อชุมชนได้

สำหรับยาที่ผลิตครั้งนี้มี 2 ประเภท คือ ยาทาป้องกันน้ำกัดเท้าแบบวาสลีน และยาทาแก้ โรคน้ำกัดเท้าแบบขี้ผึ้ง โดย ภญ.ผศ.ดร.พนิดา อัศวพิชยนต์ หัวหน้าทีมการผลิตยาครั้งนี้ ให้รายละเอียดว่า ในด้านสูตรตำรับยาอ้างอิงจากเภสัชตำรับประเทศอังกฤษ (British Pharmacopeia) ที่ใช้สอนนักศึกษาเภสัชศาสตร์อยู่แล้ว ตัวยามีส่วนประกอบของกรดเบนโซอิก (benzoic acid) ที่มีผลในการฆ่าเชื้อรา และกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ที่ช่วยลอกผิวหนังที่เป็นขุย สะเก็ดหรือปื้นขาว ทำให้ตัวยาฆ่าเชื้อราออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น โดยสูตรที่ผลิตมีจุดเด่นคือเป็นลักษณะขี้ผึ้งทนน้ำและราคาถูก

"ตัวยาที่คณะผลิตมี 2 ตัวยา คือยาสำหรับป้องกันที่เป็นวาสลีนใช้ทาก่อนจะลุยน้ำเพื่อลดการโดนน้ำกัดเท้า และตัวยาที่ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าสำหรับทาบริเวณที่มีอาการคัน แดงและลอกของผิวหนัง ก่อนใช้ควรอ่านฉลากให้ชัดเจนและถูกต้องกับอาการก่อนใช้ โดยยาที่ผลิตมีอายุประมาณ 1-2 ปี เก็บไว้ใช้หลังน้ำท่วมได้สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับความชื้นหรือเสี่ยงกับการเป็นโรคน้ำกัดเท้า"

สมกมล แม้นจันทร์ บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวเภสัชกรรม หนึ่งในจิตอาสา กล่าวว่า พี่ๆ ปริญญาเอกและปริญญาโทจะเริ่มจัดเตรียมความพร้อมก่อนจะถึงวันผลิตยาจริง โดยมีหน้าที่ในการควบคุมน้องๆ ปริญญาตรีในการเตรียมส่วนประกอบ ผสมและกระบวนการทำยาในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงลงมือทำเองจากทักษะที่เรียนมา ภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วม ถึงแม้จะไม่สามารถลงไปช่วยได้ถึงพื้นที่ประสบภัย แต่ก็ดีใจที่จะ ได้ส่งยาจากฝีมือเภสัชกรของศิลปากร ไปช่วยบรรเทาอาการน้ำกัดเท้าและป้องกันให้กับประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัย ในครั้งนี้ ซึ่งหนักมากจริงๆ

ขณะที่ ไพลิน รัฐศาสตร์วาริน ปริญญาตรีชั้น ปีที่ 4 บอกว่าผู้ประสบภัยไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนยาที่ผลิตและนำไปแจก เพราะลำบากกันมากอยู่แล้ว และถือเป็นโอกาสที่ดีของตนเองที่ได้ช่วยทำงาน ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานและได้ส่ง ผลงานที่ผลิตสู่ประชาชนจริงๆ ใช้รักษาได้จริง ให้ประสบการณ์มากกว่าในห้องเรียน

การผลิตยาครั้งนี้นอกจากจะได้แรงงานและแรงใจสำคัญจากคณาจารย์ นักศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ของคณะ ช่วยกันเตรียม ผลิตและบรรจุ กว่า 30,000 ตลับ ก่อนกระจายสู่ผู้ประสบอุทกภัย ยังมีองค์กรภาคเอกชนสนับสนุนวัตถุดิบ สารเคมี ตัวยาสำคัญ ตลับใส่ยา ฉลากยา และเงินทุนด้วย ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยหรือหน่วยงานที่ต้องการใช้ยา ติดต่อได้ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิธีรับมือน้ำท่วม


1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที



หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช

- หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ

- ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา" เลขบัญชี 301-0-86149-4

2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

- สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา

- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

- ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

4. กรมอุตุนิยมวิทยา

- เว็บไซต์ tmd.go.th

- สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549

- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- เว็บไซต์ disaster.go.th

- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

6. กรุงเทพมหานคร

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

7. สภากาชาดไทย

- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาด ไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงาน การคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมาย เลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

รายการชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย (สภากาชาดไทย) 1 ชุด ประกอบด้วย

1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 30 ซอง

2. ปลากระป๋อง จำนวน 6 กระป๋อง

3. ผักกาดดอง จำนวน 6 กระป๋อง

4. ปลาราดพริก จำนวน 6 กระป๋อง

5. ข้าวหอมมะลิกระป๋อง 150 กรัม จำนวน 6 กระป๋อง

6. น้ำพริก จำนวน 2 กระปุก

7. ไก่ทอดกระเทียม จำนวน 2 กระป๋อง

8. เครื่องดื่มช็อคโกแลตผง 3 in 1 (1X6 ซอง) จำนวน 2 ถุง

9. ข้าวสาร (5 กิโลกรัม) จำนวน 1 ถุง

10. โลชั่นกันยุง จำนวน 1 ขวด

11. เทียนไข (1X2 เล่ม) จำนวน 1 กล่อง

12. ไฟแช็ค จำนวน 1 อัน

13. กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน จำนวน 1 ชุด

14. ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 1 ชุด

15. ยาแก้น้ำกัดเท้า จำนวน 1 หลอด

16. เกลือไอโอดีน จำนวน 1 ถุง

17. ถุงขยะสีดำ ขนาดเล็ก จำนวน 1 แพ็ค (6 ใบ)

18. ถุงขยะสีดำ ขนาดใหญ่ จำนวน 1 แพ็ค (6 ใบ)

8. กองบัญชาการ กองทัพไทย

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร 6) ตลอดเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-575-1500

9. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซีคอนสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป เพื่อโครงการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 095-2-71929-7

10. สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 + ครอบครัวข่าวช่อง 3

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์สี่ ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 และสามารถช่วยบรรจุหีบห่อได้ที่หน้าอาคารได้เลย แผนที่คลิกที่นี่

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" เลขที่บัญชี 014-3-00368-9

11. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ หน้าสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5 สนามเป้า แผนที่คลิกที่นี่

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 021-2-69426-9


12. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ตึกอสมท. ถ.พระราม9 เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่คลิกที่นี่

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 015-0-12345-0 สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-0700-4

13. กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 NBT

- สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ จะเป็นสื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" โดยยกเลิกผังรายการเดิมทั้งหมด

- สำหรับการรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-275-2053 แผนที่คลิกที่นี่

14. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7, 02-791-1113 หรือ people@thaipbs.or.th สามารถไปบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง, ข้าวของเครื่องใช้ ได้ที่ ตึกชินวัตร3 แผนที่คลิกที่นี่

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 020-2-69333-2


15. จส. 100

- สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

16. มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" บัญชีเลขที่บัญชี 111-3-90911-5 บริจาคผ่าน ATM / สาขา SCB ไม่เสียค่าโอน

17. ธนาคารออมสิน

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 0-2888888888-1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว

18. โรงแรมดุสิตธานี

- สามารถไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม ได้ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันพุธที่ 20 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น.

19. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

- รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-465-6165

20. การรถไฟแห่งประเทศไทย

- สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690

21. ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน

- ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

22. บริษัทขนส่ง

- สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

23. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1 แผนที่คลิกที่นี่

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1


24. มูลนิธิซีเมนต์ไทย

- สามารถบริจาคอาหาร ผ้าอนามัย กางเกงในกระดาษ กระดาษทิชชู ถุงขยะ เทียนไข และไฟแช็ค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-586-3415

25. จุดรับบริจาคของคนเสื้อแดงกลุ่ม Red Cyber

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าแฟชั่นมอลล์ (จอดรถข้างหน้าได้เลย) และบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5 ที่สถานีเอเชียอัพเดท

26. DTAC

- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ DTAC อาคารจามจุรีแสควร์ ถึงวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2553

27. มูลนิธิกระจกเงา

- สามารถไปบริจาคข้าว สาร, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม และยารักษาโรค ช่วยเหลือพี่-น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ) 8/12 ซ.วิภาวดี44 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" เลขที่บัญชี 000-0-01369-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 087-274-9769 (เอ), 02-941-4194-5 ต่อ 102 (เอ,สุกี้)

28. กรมทางหลวง

- สายด่วนกรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

- สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6530, 02-354 -6668-76 ต่อ 2014 ,2031

- ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6551

- ตำรวจทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1193

29 . องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

- สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1490 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในบริจาคสิ่งของ

ตันโออิชิ ภาสกรนที เศร้า น้ำท่วมโรงงาน สูญกว่า 2000 ล้าน


นายตัน ภาสกรนที เปิดใจถึงสถานการณ์น้ำท่วมโรงงาน ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ในรายการเจาะข่าวเด่นทาง โดยคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา

โดยโรงงานผลิตน้ำชาเขียวอิชิตัน ที่ตั้งอยู่ เฟส 3 ของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะนั้น ก่อนที่น้ำจะไหลเข้าท่วม ทางโรงงานกำลังเร่งผลิตน้ำเปล่า เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่ ซึ่งขณะนี้น้ำได้ไหลทะลักท่วมพื้นที่ทั้งหมดของโรงงาน 48,000 ตารางเมตรแล้ว



“ผมจะนอนที่นี่ ที่โรงงานที่โรจนะ ผมจะรอให้คนงานออกหมด แล้วผมจะออกเป็นคนสุดท้าย จะอยู่ให้คุ้มกับที่ลงทุนไป ” ประโยคนี้เอง ตัน ภาสกรนที ถึงกับหลั่งน้ำตาลูกผู้ชายออกมา

คุณตัน เป็นผู้บริจาค ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม มากที่สุดในประเทศไทย เกือบ 100 ล้านบาท
เพียงไม่กี่วันกลับกลายเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง
คุณตัน เป็นคนเก่ง เป็นคนมีความสามารถ อีกไม่นานจะสามารถผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้