วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยูโด : ประวัติยูโด


ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ

ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา

ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่ความทารุณโหดร้าย นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด และมีความชำนาญมาก เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ในสมัยนั้น นักรบญี่ปุ่นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายูยิตสูทุกคน การฝึกต้องฝึกสมาธิ และฝึกกำลังใจให้บังเกิดความแข็งแรง ร่างกายแข็งแกร่ง ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ ยูยิตสูไม่มีความเมตตาปราณีใดๆ มิได้คำนึงถึงศีลธรรม จะคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายูยิตสูสมันนั้นมีประมาณ 20 แห่ง

ซูโม่ ถือเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่แพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายูยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อนิฮอนโซกิ (Nihon-Sho-Ki)

ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายูยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายูยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายูยิตสูแน่นอน

การพัฒนาวิชายูยิตสูเป็นวิชายูโด

ตอนปลายสมัย เซนโกกุ (Sengoku) วิชายูยิตสูได้ถูกรวบรวมไว้เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ โตกูกาวา (Tokugawa) เป็นตระกูลที่ทำการปราบปรามการกระด้างกระเดื่องบรรดาเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่างๆ ให้สงบลงอย่างราบคาบและตั้งตนเป็นมหาอุปราชปกครองประเทศญี่ปุ่น เมื่อบ้านเมืองสงบสุข วิชาการรบของพวกซามูไรที่ได้รับการศึกษาอบรมมาต้องปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย คือนอกจากการรบแล้ว ซามูไรต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาวิชาการปกครอง การอบรมจิตใจให้มีศีลธรรม ยูยิตสูเป็นวิชาป้องกันตัวชนิดหนึ่งในสมัยนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการต่อสู้จากการไร้ศีลธรรมมาเป็นการป้องกัน การต่อสู้ด้วยกำลังกาย และกำลังใจอันประกอบด้วยคุณธรรม มีจรรยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานยูยิตสู ซึ่งหมายความถึง "ศิลปะแห่งความสุภาพ" จากการที่มีการปรับปรุง และการวางระเบียบ

เกี่ยวกับบทบัญญัติทางศีลธรรมของนักรบให้รัดกุมนี้เอง ทำให้ช่วง 50 ปีของสมัยกาไน บันจิ และคันม่ง (Kanei Banji and Kanmon พ.ศ. 2167-2216) ได้มีผู้เชี่ยวชาญวิชายูยิตสูขึ้นมามากมาย เช่น ไทยยูซึ (Tai juisu) วายูซึ (Wajuisu) เอกิโนยูชิ (Oginaiuchi) โอกูอาชิ (Koguashi) เคนโป (Kinpo) เทนบาริ (Ten Bari) ไทโด (Taido) เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้โดยใช้มือเปล่า ทำให้วิชายูยิตสูเป็นที่นิยมมาตลอดสมัยโตกูกาวา

ต่อมาในสมัยเมจิ (Meji ปี พ.ศ. 2411) อารยธรรมตะวันตกได้หลั่งไหล เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นมาก ทำให้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นหลายอย่างกลายมาเป็นสิ่งล้าสมัยของต่างชาติ และชาวญี่ปุ่นสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2414 จึงได้ออกกฎหมายห้ามนักรบใช้ซามูไรเป็นอาวุธ ห้ามพกหรือสะพายดาบซามูไร ยูยิตสูซึ่งเป็นวิชาที่นิยมเล่นกับซามูไร จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัย เพราะทารุณ ป่าเถื่อน ฉะนั้นวิชายูยิตสูจึงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขพร้อมกันหลายอย่างในสมัยเมจิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งยูยิตสูต้องซบเซาลง สถาบันที่เปิดฝึกสอนยูยิตสู ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับกระทบกระเทือนถึงกับเลิกกิจการไปก็มีมาก

กำเนิดยูโด

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร

เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)

ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)

ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน

ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้ง The Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ

ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา

1.การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) ทำให้ยุโรปกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

2.การสำรวจเส้นทางเดินเรือ โดยมุ่งหมายทางการค้าและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา

3.การเกิดชนชั้นกลาง (พ่อค้า) เข้ามาควบคุมเศรษฐกิจแทนพวกขุนนางในระบบฟิวดัล และสนับสนุนกษัตริย์ ในด้านการปกครอง ทำให้ฐานะกษัตริย์เข้มแข็ง

4.ความก้าวหน้าทางด้านการพิมพ์ มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้และวิทยาการใหม่ๆออกไปอย่างรวดเร็ว


สมัยใหม่ช่วงแรก (คริสต์ศตวรรษที่ 15-18) มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
1.การฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน ( Renaissances ) นำความรู้วิธีคิด ใช้ปัญญาและเหตุผลตามแบบอย่างนักปราชญ์ชาวกรีก ให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือเป็นลักษณะยุคมนุษย์นิยม


โบสถ์ในคริส์ตศาสนา นิกายโรมันคาทอริก


2.การปฏิรูปศาสนา เกิดการแบ่งแยกศาสนจักรเป็น 2 นิกายใหญ่ๆ คือ

2.1.นิกายโรมันคาทอริก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มีพระสันตะปาปา ( Pope ) เป็นประมุข

2.2.นิกายโปรแตสแตนท์ แบ่งเป็นนิกายย่อยๆอีกหลายนิกาย นับถือในประเทศต่างๆ เช่น นิกายอังกฤษ ( Church of England ) และนิกายลูเธอร์ ( Lutheranism ) ในเยอรมนี



3.การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก

3.1.ยุโรปเข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

ยุคกลาง มีการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและตะวันออกกลาง โดยอิตาลีได้เปรียบประเทศอื่น สามารถควบคุมเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมด ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา พยายามทำลายการผูกขาดนี้ ประจวบกับชาวยุโรปส่วนหนึ่ง เบื่อชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลมืดของสันตะปาปา จึงคิดอพยพไปตายเอาดาบหน้าเพื่ออิสระในการนับถือศาสนา เป็นเหตุหนึ่งในการออกสำรวจแสวงหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ และเส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปกับตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องการหาเส้นทางการค้าใหม่ก็คือ ค้าขายทางทะเลเท่านั้น การติดต่อของชาวยุโรปและโลกตะวันออกจากการค้า ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆ ของกรีกและมุสลิม หลั่งไหลมาสู่สังคมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตน ตลอดจนเกิดการท้าทายคำสอนศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลางถึงเรื่องโลกแบน ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นดินแดนที่กว้างใหญ่ ความต้องการสำรวจเส้นทาง โดยเฉพาะทางเรือ จึงเพิ่มขึ้น

3.2.การค้นพบดินแดนทางตะวันออกของชาติตะวันตก

-บาร์โธโลมิว ไดแอส ชาวโปรตุเกสสามารถเดินเรือเลียบทวีปแอฟริกาจนเข้าแหลม กู๊ดโฮม ได้สำเร็จใน ค.ศ.1488

-วาสโก ดา กามา ใช้เส้นทางของไดแอส จนถึงเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่งที่เมืองคาลิกัต ของอินเดียและสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดีย นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย

-คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีรับใช้กษัตริย์สเปนในการสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา และเป็นผู้เชื่อว่าโลกมีสัณฐานกลม ไม่แบนตามคำสอนของคริสต์ศาสนา ในสมัยกลาง

-เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน ชาวโปรตุเกส รับอาสากษัตริย์สเปน หาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกจนสามารถเข้าฟิลิปปินส์แต่เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลูกเรือสามารถนำเรือกลับมาสเปนได้

ยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคแห่งการค้นพบ ( Age of Discovery ) การค้นพบดินแดนต่างๆทำให้ ฮอลันดา อังกฤษ และต่อมาฝรั่งเศส เข้ามาสร้างอิทธิพลครอบครองดินแดนทางตะวันออก และทำให้เกิด ลัทธิจักรวรรดินิยม




โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา



คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส


4. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

ปัญญาชนชาวตะวันตกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ทำให้วิทยาการความรู้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดจากแนวความคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาว กรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ สติปัญญาของมนุษย์สามารถนำมนุษย์ไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก

2. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาล ที่มีสาระสำคัญคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความคิดของโคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ ( Telescope ) ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น

เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบ 2 ทฤษฎีคือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง




กาลิเลโอ



กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ (Telescope)


สมัยใหม่ช่วงหลัง (นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2)

มีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่

1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.1 เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักร

1.2 ประเทศแรกที่บุกเบิกคืออังกฤษโดยอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ คือ อุตสาหกรรม การทอผ้า




เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์



เจมส์ วัตต์

2.การเกิดแนวความคิดทางการเมือง และเศรษฐกิจแบบใหม่

- การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีนักปราชญ์ที่เสนอแนวคิด ดังนี้

จอห์น ล๊อค ชาวอังกฤษกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและ มีอิสระไม่มี ผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจในการคุกคามชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้อื่นได้

มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ( The Spirit of Laws ) เสนอความคิดการแบ่งแยกอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เขาเชื่อว่าหากแยกอำนาจสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง แต่ถ้าอำนาจทั้ง 3นี้รวมกันอยู่ในองค์การเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดการกดขี่ประชาชน

วอลแตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดและมีผลงานด้านการเขียนมากมายให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา ต่อต้าน ความอยุติธรรมในสังคม แต่ในด้านการเมืองไม่เคยแสดงความคิดเห็น อย่างชัดเจน จึงไม่มีทฤษฎีการเมืองที่แน่นอน

รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ผลงานหนังสือที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม ( The Social Contract ) ข้อความที่จับใจคนเป็นจำนวนมากคือ “มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการ” รุสโซ เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมกันของประชาชน( General Will ) เขาได้รับสมญาว่า “เจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย”

- เศรษฐกิจแบบทุนนิยม สังคมนิยม พาณิชย์นิยม



3.สงครามโลกครั้งที่ 1

3.1 ปัญหาหลักคือ ลัทธิชาตินิยม และจักรวรรดินิยม เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

3.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง

3.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ

3.4 เกิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์และองค์การสันนิบาตชาติ




การสู้รบในมหาสงครามโลกครั้งที่ 1


4.สงครามโลกครั้งที่ 2

4.1 ปัญหาหลักคือ การละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์ของเยอรมันและการล่มขององค์การสันนิบาตชาติ

4.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ

4.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ

4.4 เกิดองค์การสหประชาชาติและสงครามเย็น



สหรัฐฯ ใช้ระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2


ศิลปวัฒนธรรมยุโรปสมัยใหม่

สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) เป็นช่วงที่ยุโรปนำศิลปกรรมสมัยกรีก-โรมัน กลับมาใช้อีก

ด้านประติมากรรม เน้นการแสดงสัดส่วนสรีระร่างกายมนุษย์ ผลงานสำคัญของ ไมเคิล แอนเจลโล ได้แก่
รูปสลักเดวิด ( David ) แสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วนของร่างกาย
รูปสลักลาปิเอตา ( La Pieta ) เป็นรูปสลักพระมารดา กำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระหัตถ์ หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว ผลงานแสดงให้เห็นถึงความนุ่มนวล อ่อนไหว
ด้านจิตรกรรม เป็นงานแสดงถึงความนุ่มนวล ละเมียดละไมแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ มีการใช้สีและเงาให้เกิดแสงสว่าง ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น
เลโอนาร์โด ดาวินชี

ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ( The Last Supper )
ภาพโมนาลิซา ( Mona Lisa )
ราฟาเอล

ภาพพระแม่ พระบุตร แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร
วรรณกรรมที่เป็นบทละครรับอิทธิพลของบทละครกรีก โดยนักประพันธ์ที่มีชื่อ เช่น
วิลเลียม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมิโอและจูเลียต , เวนิสวานิส , คิงเลียร์ , แมคเบท , ฝันคืนกลางฤดูร้อน ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน

เซอร์ทอมัส มอร์ ได้แก่ ยูโทเปีย ที่กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย