วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ปลาหิมะเปื้อนสารปรอท อย่าตกใจ กินปลาไทยดีกว่า
กรมอนามัย” แนะกินปลาไทย ถูกและได้โอเมก้า 3 ไม่แพ้ปลาน้ำลึก แถมถูก สด ปลอดภัย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยกองงานด่านอาหารและยา ได้สุ่มตรวจอาหารแช่แข็งและส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจหาสารอันตราย เช่น สารปรอท ตะกั่ว ฟอร์มาลิน เป็นต้น ซึ่งผลการตรวจพบปลาหิมะแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศอุรุกวัย มีสารปรอทสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด
ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีสารปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
สำหรับอาหารทะเล และ 0.02 มิลลิกรัม/ อาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารอื่น ๆ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปลาหิมะ (Sable Fish) เป็นปลาที่อาศัยตามก้นทะเลลึก แพร่กระจายอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ มีโอกาสปนเปื้อนสารปรอท จากการดูดซึมและสะสมสารปรอทจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
ความเป็นพิษของสารปรอทมี 2 ลักษณะคือ พิษเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับ สารปรอทคราวเดียวกันในปริมาณมาก จะทำให้มีอาการไข้ หายใจลำบาก ปอดอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ภาวะไตวาย ถ่ายเเป็นเลือด การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่
หากบริโภคสารปรอทในปริมาณ 1 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้ และอีกลักษณะหนึ่งคือ พิษเรื้อรัง เกิดจากการได้รับสารปรอทสะสมทีละน้อย เป็นเวลานาน จนเกิดพิษทางสมอง ไต ผิวหนัง ทำให้มีอาการสั่น ชัก ปวดปลายมือปลายเท้า ปวดศีรษะ หงุดหงิด ขี้ลืม ประสาทหลอน เลือดออกง่าย มีอาการทางตับและไต
อย่างไรก็ตาม รมช.สาธารณสุขบอกว่า ผู้บริโภคอย่าได้ ตื่นตระหนกไป เพราะโดยปกติ การรับประทานปลาหิมะในแต่ละครั้งจะไม่เกิน 200 กรัม อาจมีการ ปนเปื้อนปรอทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดการสะสมจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค อีกทั้ง ร่างกายมนุษย์มีกลไกที่สามารถขับสารปรอทออกได้ตามธรรมชาติ
กระทรวงฯได้สั่งการให้ อย. สุ่มตัวอย่างอาหารส่งวิเคราะห์เพื่อหาสารพิษ ในเขต กทม. แล้ว ปรากฏว่าไม่พบสารปรอทเกินปริมาณที่กำหนดแต่อย่างใด
ผู้ประกอบการรายนี้ อย. ได้ดำเนินการทางกฎหมาย โดยการเปรียบเทียบปรับบริษัทและผู้ประกอบการแล้ว ซึ่งการตรวจพบอาหารนำเข้าที่มีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐานที่กำหนด ดังเช่นกรณีดังกล่าว อย. จะขึ้นบัญชีการจับตาตรวจสอบอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ (Black list) กับผู้ประกอบการ รายนั้นทันที โดยหากจะนำเข้าครั้งต่อไป จะต้องถูกสุ่มตรวจอย่างละเอียดจนกว่าพบว่าปลอดภัย 3 ครั้ง จึงจะหลุดจากบัญชีการจับตาตรวจสอบอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษได้
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การกินปลามีประโยชน์ โดยปลาแบ่งเป็นหลายประเภท ทั้งปลาน้ำจืด ปลาทะเล และปลาน้ำลึก ซึ่งมีความเชื่อว่า เนื้อปลาน้ำลึกจะมีประโยชน์มากต่อร่างกาย และมีสารอาหารมากกว่าปลาประเภทอื่น โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่มีปริมาณสูง ซึ่งปลาหิมะเป็นปลาชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มปลาประเภทนี้ แต่เมื่อเราเทียบปริมาณสารอาหารที่ได้รับกับราคานั้น เรียกว่าเป็นราคาที่สูงพอสมควร
ทั้งนี้คนนิยมกินปลาหิมะน่าจะมาจากรสนิยม และรสชาติของเนื้อปลาที่แตกต่างจากบ้านเรา คือ จะนิ่ม ไร้ก้าง และมีความมัน แต่หากเปรียบเทียบในเรื่องคุณค่าทางอาหารแล้ว ปลาในบ้านเราก็มีคุณค่ามากมายไม่แพ้กัน และยังมีรสชาติที่ดี ซึ่งหากกินเป็นประจำก็จะเสริมร่างกายได้ไม่แพ้กัน
นอกจากเมื่อเปรียบเทียบในเรื่องความสด ปลาในบ้านเรายังมีความสดและปลอดภัยมากกว่า เพราะไม่ต้องผ่านการขนถ่าย นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ต้องผ่านกระบวนการคงความสดเพื่อให้ปลาไม่เน่าและอยู่ได้นาน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ส่วนปลาน้ำจืดนั้น อย่างเช่น ปลาดุก ปลาช่อน ก็มีโอเมก้า 3 เช่นกัน แต่อาจมีปริมาณไม่มากเท่าปลาจากทะเลน้ำลึก แต่ถ้าความสดและความปลอดภัยคงมีมากกว่า
“ปลาบ้านเรา มีราคาถูก และรสชาติดี อย่างเช่น ปลาทู ที่หาได้ง่าย หากกินคู่กับน้ำพริกกะปิแล้ว ก็มีรสที่ดี และเมื่อกินกับผักด้วยแล้ว ก็จะทำให้เราได้สารอาหารจำพวกวิตามินด้วย อย่างเช่น ใบบัวบก ซึ่งกินแล้วจะช่วยเสริมความจำเช่นเดียวกับใบแปะก๊วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามหากกินปลาหิมะนานๆ ครั้ง ก็ได้ แต่หากกินเป็นประจำไม่แนะนำเพราะมีราคาที่สูงเกินไป โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจทีกำลังประสบปัญหา
กินปลาต้านเบาหวาน
ประเทศไทยมี ผู้ป่วยเบาหวานแล้วกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 194 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 ขณะที่
ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เบาหวานมี 2 ชนิด โดยเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่มีความรุนแรงและมักเกิดกับเด็ก เกิดจากความผิดปกติของการอักเสบของตับอ่อนที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้อินซูลินที่ควบคุมน้ำตาลทำงานบกพร่อง ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 มาจากความอ้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ส่งผลให้ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินต้องทำงานหนักมากขึ้น
การบริโภคเนื้อปลาช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดได้ เพราะโอเมก้า 3 ในปลาจะช่วยลดการอักเสบของตับอ่อนลงได้ นอกจากนี้ปลายังมีคุณภาพโปรตีนที่สูงกว่าเนื้อวัวและเนื้อหมู เรียกว่าเป็นโปรตีนชั้นเลิศ ช่วยให้อิ่มเร็วและย่อยง่าย ป้องกันการเกิดโรคอ้วน ดังนั้นควรกินปลาอย่างสม่ำเสมอ
โอเมก้า 3 มีสารอาหารที่มีอยู่ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาทะเล มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและหัวใจได้ และช่วยในการพัฒนาเซลล์สมอง ลดไขมันในเลือด และช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติได้ ทั้งนี้มีรายงานการวิจัยของกรมประมงยืนยันว่า ผู้ที่กินปลาน้ำจืดจะไม่มีอาการแพ้ ต่างจากการกินปลาทะเลที่บางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายควรเลือกกินปลาน้ำจืดแทน
นพ.ฆนัท ครุฑกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ควรกินปลาอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ แต่คนไทยกินปลาน้อยมาก เพียง 32 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่คนอเมริกันกินปลา 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และคนญี่ปุ่นกินถึง 69 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าสารอาหารในปลาทะเลและปลาน้ำจืด พบว่าไม่แตกต่างกันมาก แต่จะขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อปลามากกว่า โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ปลาที่มีไขมันมากก็จะมีปริมาณโอเมก้า 3 มากกว่า เช่น ปลาแซลมอน และปลาสวาย ส่วนปลากลุ่มที่มีไขมันน้อยก็จะมีโอเมก้า 3 น้อยกว่า แต่จะมีปริมาณโปรตีนมากกว่า เช่น ปลากะพง ปลานิล เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวว่าปลาทะเลจะมีโอเมก้า 3 มากกว่าปลาน้ำจืดเสมอไป ต้องดูลักษณะของเนื้อปลาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามผู้บริโภคสามารถกินปลาได้จากทั้ง 2 แหล่ง และกินได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด
ข้อดีของปลาทะเล คือ มีโปรตีนและไอโอดีนสูง ช่วยป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน แต่มีข้อเสีย คือ อาจมีสารตกค้างจำพวกปรอทและตะกั่วได้ เพราะอาจมีการปนเปื้อนจากน้ำทะเล จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงทะเล ขณะที่ปลาน้ำจืดสามารถควบคุมได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยง ในฟาร์ม
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบไข่ปลา ในไข่ปลาแม้ว่าจะมีโอเมก้า 3 สูง แต่ก็มีคอเลสเตอรอลสูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรระมัดระวังไม่ควรกินในปริมาณมาก ส่วนการกินปลาดิบก็ไม่ได้ให้คุณค่าสารอาหารมากกว่าปลาที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว เป็นเพียงค่านิยมที่เชื่อว่ามีรสชาติที่ดีกว่า ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากพยาธิได้
ในบ้านเรามีปลาสวายมาก และราคาถูก แต่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม เมื่อเปรียบกับปลาแซลมอนพบว่ามีปริมาณโอเมก้า 3 น้อยกว่า โดยอยู่ที่ 1,000-1,700 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ขณะนี้ปลาสวายเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมาก โดยเฉพาะยุโรป เนื่องจากเป็นปลาเนื้อขาวซึ่งปลาเนื้อขาวถือว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าปลาเนื้อสี ดังนั้นปลาสวายจึงมีราคาสูงมากในยุโรป และมีแนวโน้มการส่งออกที่มากขึ้น แต่ในประเทศกลับไม่เป็นที่นิยม.
ลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบรรจุขวด ลดปัญหากระดูกเปราะ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 6 เรื่องการควบคุมปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท จากเดิม 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงและคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับฟลูออไรด์มากเกินจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กที่กินน้ำบรรจุขวดตั้งแต่เกิดอาจทำให้เด็กทุกคนมีปัญหากระดูกผิดปกติและฟันตกกระได้
นายจุรินทร์กล่าวว่า เนื่องจากครัวเรือนในปัจจุบัน มีแนวโน้มการใช้น้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2550 พบแหล่งน้ำดื่มครัวเรือนทั่วประเทศเป็นน้ำดื่มบรรจุขวดถึงร้อยละ 29 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของน้ำที่ใช้ดื่มทั้งหมด
ทางด้านนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ฟลูออไรด์มีประโยชน์จะช่วยป้องกันโรคฟันผุ โดยทั่วไปร่างกายจะได้รับจากการบริโภคน้ำดื่มและอาหาร จากการศึกษาความสัมพันธ์ของฟลูออไรด์กับฟันตกกระในประเทศไทยโดยกรมอนามัย พบการดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไปจะทำให้ฟันตกกระ และเมื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในเด็กไทยกับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มและในยาสีฟัน พบว่าเด็กอายุ 3 ปีที่ดื่มน้ำมีฟลูออไรด์ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งเป็นเกณฑ์ควบคุมน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีตามประกาศฯในปัจจุบัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเด็กที่ดื่มน้ำมีฟลูออไรด์ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ผลสำรวจสถานการณ์ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วประเทศพบมีปริมาณฟลูออไรด์มากกว่า 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรร้อยละ 2.24 หรือประมาณ 100 แห่ง ดังนั้น อย.จึงได้กำหนดให้น้ำดื่มบรรจุขวดมีฟลูออไรด์ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อไม่ไห้ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก โดยประกาศกระทรวงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว 180 วัน
นายแพทย์พิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า อันตรายจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกาย 2 ลักษณะ คือ พิษแบบเฉียบพลัน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และหากเด็กได้รับในปริมาณ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว มีผลต่อระบบหัวใจทำให้เสียชีวิตได้ โทษอีกลักษณะหนึ่งคือ การเป็นพิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มที่มีฟลูออไรด์มากกว่า 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นประจำติดต่อกัน ซึ่งหากได้รับตั้งแต่เกิดจนถึง 8 ปีเป็นช่วงที่ฟันแท้กำลังสร้างก็จะทำให้ฟันตกกระ ฟันแท้มีสีขาวขุ่นจนถึงขั้นฟันลาย หรือมีสีน้ำตาล ฟันตกกระยังเกิดได้จากการได้รับฟลูออไรด์แหล่งอื่นด้วย เช่น ในเด็กที่กลืนยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ขณะแปรงฟันเป็นประจำ หรือการใช้ฟลูออไรด์เสริมที่ไม่เหมาะสม เช่น กินฟลูออไรด์เม็ดหรือนมฟลูออไรด์มากเกินกำหนด
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ได้มีคำเตือนไว้ว่า ในผู้ที่บริโภคน้ำมีฟลูออไรด์ตั้งแต่ 4 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไปเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่กระดูก เนื่องจากมีฟลูออไรด์สะสมที่กระดูกมาก ทำให้กระดูกหนา กระดูกขาผิดรูปร่างโก่งงอ หรือมีกระดูกงอกบริเวณที่เกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อ กดทับเส้นประสาท ทำให้ปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบากหรือจนถึงขั้นพิการได้
เตือนผู้ปกครอง ระวังไวรัสRSV คร่าชีวิตเด็กปีละ 2 แสน
เตือนภัยเมืองไทยโอกาสเสี่ยงสูง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ปกครองไทย ให้ระวังเด็กเล็กป่วยจากเชื้อไวรัส“อาร์เอสวี” ผลการศึกษาทั่วโลกล่าสุด พบไวรัสชนิดนี้ทำให้เด็กเป็นปอดบวม หรือปอดอักเสบ เสียชีวิตปีละ 200,000 ราย ขณะในปี 2552 มีเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ราว 1ใน 4 ติดไวรัสชนิดนี้ รวมกว่า 10,000 ราย
จากกรณีที่นิตยสารแลนเซต ประเทศอังกฤษ รายงานผลการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ซึ่งเป็นการศึกษาระดับโลกครั้งแรก ค้นพบว่าไวรัสที่มีชื่อว่าอาร์เอสวี (RSV : respiratory syncytial virus) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการติดเชื้อในปอดของเด็ก ทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละ200,000 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว 33.8 ล้านคน ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 3.4 ล้านคน
นางพรรณสิริ กุลนารถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า การศึกษาวิจัยดังกล่าว นับเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากในการพัฒนาสุขภาพเด็กเล็ก โดยเฉพาะการป้องกันโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สูงเป็นอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อทั้งหมด จากการเฝ้าระวังการป่วยของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีในปี 2552 พบว่าป่วยจากโรคปอดบวม 53,727 ราย เสียชีวิต 46 ราย โดยเกือบครึ่งหนึ่งติดเชื้อไวรัสหลายชนิด และมีประมาณ 10,000 กว่ารายติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี หรือมีประมาณ 1 ใน 4 ของสาเหตุติดเชื้อทั้งหมด ที่เหลือติดเชื้อแบคทีเรีย
ในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ที่ดูแลเด็กต่ำกว่า 5 ปีทั่วประเทศให้มีคุณภาพ ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดเชื้อทุกชนิด โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เนื่องจากจะติดต่อกันง่าย เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เมื่อมีเด็กป่วย 1 คน ก็อาจจะลุกลามไปได้ทั้งศูนย์ โดยมาตรการสำคัญในการป้องกันคือการล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆเช่นกัน เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วย ออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ไวรัสอาร์เอสวี ทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถติดเชื้อได้โดยตรงและเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนรุนแรงในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน อาการของโรคจะเริ่มจากเด็กเป็นไข้หวัดธรรมดาก่อน อาจมีไข้ต่ำๆ ไอ มีน้ำมูก แต่ต่อมาไข้จะสูงขึ้น หายใจลำบาก เด็กจะซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม มีไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็วและมีเสียงหวีดหรือฮื๊ด ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการปอดบวมต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้
นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ในการป้องกันโรคหวัด โรคปอดบวม ปอดอักเสบ ต้องเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติให้แก่เด็ก โดยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางน้ำนม เด็กจะไม่ป่วยง่าย ดูแลเด็กให้มีร่างกายแข็งแรง ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ หลีกเลี่ยงพาเด็กไปในสถานที่แออัด ไม่พาเด็กไปใกล้คนป่วยหรือผู้ที่กำลังเป็นหวัด เด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ หรืออยู่ในที่มีอากาศเย็นเช่นในฤดูฝนหรือฤดูหนาว ขอให้ดูแลความอบอุ่น ใส่เสื้อผ้าหนาๆ โดยสามารถขอรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเด็กจากกรมควบคุมโรค ที่หมายเลข 02-590-3183 หรือ 02-590 -3185 ในวันเวลาราชการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ปกครองไทย ให้ระวังเด็กเล็กป่วยจากเชื้อไวรัส“อาร์เอสวี” ผลการศึกษาทั่วโลกล่าสุด พบไวรัสชนิดนี้ทำให้เด็กเป็นปอดบวม หรือปอดอักเสบ เสียชีวิตปีละ 200,000 ราย ขณะในปี 2552 มีเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ราว 1ใน 4 ติดไวรัสชนิดนี้ รวมกว่า 10,000 ราย
จากกรณีที่นิตยสารแลนเซต ประเทศอังกฤษ รายงานผลการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ซึ่งเป็นการศึกษาระดับโลกครั้งแรก ค้นพบว่าไวรัสที่มีชื่อว่าอาร์เอสวี (RSV : respiratory syncytial virus) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการติดเชื้อในปอดของเด็ก ทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละ200,000 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว 33.8 ล้านคน ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 3.4 ล้านคน
นางพรรณสิริ กุลนารถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า การศึกษาวิจัยดังกล่าว นับเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากในการพัฒนาสุขภาพเด็กเล็ก โดยเฉพาะการป้องกันโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สูงเป็นอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อทั้งหมด จากการเฝ้าระวังการป่วยของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีในปี 2552 พบว่าป่วยจากโรคปอดบวม 53,727 ราย เสียชีวิต 46 ราย โดยเกือบครึ่งหนึ่งติดเชื้อไวรัสหลายชนิด และมีประมาณ 10,000 กว่ารายติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี หรือมีประมาณ 1 ใน 4 ของสาเหตุติดเชื้อทั้งหมด ที่เหลือติดเชื้อแบคทีเรีย
ในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ที่ดูแลเด็กต่ำกว่า 5 ปีทั่วประเทศให้มีคุณภาพ ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดเชื้อทุกชนิด โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม เนื่องจากจะติดต่อกันง่าย เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เมื่อมีเด็กป่วย 1 คน ก็อาจจะลุกลามไปได้ทั้งศูนย์ โดยมาตรการสำคัญในการป้องกันคือการล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆเช่นกัน เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วย ออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ไวรัสอาร์เอสวี ทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถติดเชื้อได้โดยตรงและเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนรุนแรงในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน อาการของโรคจะเริ่มจากเด็กเป็นไข้หวัดธรรมดาก่อน อาจมีไข้ต่ำๆ ไอ มีน้ำมูก แต่ต่อมาไข้จะสูงขึ้น หายใจลำบาก เด็กจะซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม มีไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็วและมีเสียงหวีดหรือฮื๊ด ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการปอดบวมต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้
นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ในการป้องกันโรคหวัด โรคปอดบวม ปอดอักเสบ ต้องเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติให้แก่เด็ก โดยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางน้ำนม เด็กจะไม่ป่วยง่าย ดูแลเด็กให้มีร่างกายแข็งแรง ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ หลีกเลี่ยงพาเด็กไปในสถานที่แออัด ไม่พาเด็กไปใกล้คนป่วยหรือผู้ที่กำลังเป็นหวัด เด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ หรืออยู่ในที่มีอากาศเย็นเช่นในฤดูฝนหรือฤดูหนาว ขอให้ดูแลความอบอุ่น ใส่เสื้อผ้าหนาๆ โดยสามารถขอรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเด็กจากกรมควบคุมโรค ที่หมายเลข 02-590-3183 หรือ 02-590 -3185 ในวันเวลาราชการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)