วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นกกระทา น่าตาเป็นยังไงน้า?




นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาในบ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยุ่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย

ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา
1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
4. วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี



นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วัน

ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึง ค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้

หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก

การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ

หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกฟักออก

สำหรับการกลับไข่ ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนก

เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนก หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น