วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ซูดานใต้ ประเทศเกิดใหม่ที่193ของโลก

ซูดานใต้ ประเทศเกิดใหม่ที่193ของโลก

สำนักข่าวอะลามี่ : ในที่สุดโลกของเราก็มีประเทศสมาชิกเพิ่มเป็นประเทศที่ 193 นั่นคือ สาธารณรัฐซูดานใต้ นับเป็นประเทศล่าสุดอย่างเป็นทางการ ภายหลังเกิดสงครามกลางเมืองยืดเยื้อยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ ระหว่างซูดานเหนือ กับซูดานใต้



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย บัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ลงนามและประกาศรับรับการรับรอง ประเทศสาธารณรัฐซูดานใต้ โดย การเฉลิมฉลองกำลังแพร่สะพรัดไปทั่วเมืองหลวงจูบา (Juba) เมื่อเที่ยงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความปลื้มปิติ ยินดีของชาวซูดานใต้

โดย ประชาชนกว่าหมื่นรายร่วมร้องเพลง เต้นรำ บนท้องถนนอย่างสนุกสนานเคล้าเสียงรัวของกลอง เสียงแตร เพื่อเฉลิมฉลองการเป้นเอกราชหลังลงประชามติผ่านพ้นไป

เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คีมูน กล่าวกับนักข่าวในกรุงจูบา ว่า ประชาชนชาวซูดานใต้ ทำความฝันของพวกเขาสำเร็จแล้ว โดย องค์การสหประชาติ และประชาคมโลก จะยังคงเฝ้าดูซูดานใต้ต่อไป

“ผมมีความสุขอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ที่นี่” นายบันคีมูน กล่าว

สำหรับพิธีการจะเริ่มในวันเสาร์ที่ 8 ก.ค. (ตามเวลาท้องถิ่น) มีการเดินขบวนพาเหรดของทหารและพิธีสวดมนต์ เพื่อประกาศอย่างเป็นทางการ โดยประธานาธิบดี Salva Kiir ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศซูดานใต้

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ประเทศซูดานเหนือ นับเป็นประเทศแรก ที่ให้การรับรองรัฐใหม่ 1 ชั่วโมงก่อนการแยกตัวอย่างเป็นทางการ ถือเป็นห้วงขณะหนึ่งในการแบ่งแยกประเทศที่เป็นไปอย่างราบรื่น และสิ้นสุดลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ของประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา

อย่างไรก็ตาม ซูดานเหนือและใต้ ยังไม่เห็นพ้องในประเด็นที่อ่อนไหว อาทิ เส้นเขตแดนบริเวณพรมแดนของทั้งสองฝ่าย และ การจัดการกับรายได้จากน้ำมัน ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโอมาร์ ฮัสซัน (Omar Hassan al-Bashir) ผู้นำซูดานเหนือในปัจจุบัน กล่าวกับนักข่าวว่า ในกรุงคาทูม (Khartoum) ว่า เขาอาจจะร่วมเฉลิมฉลองในการประกาศเอกราชภายหลังวันที่จูบาฉลอง

“ผมอยากจะย้ำว่า เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับซูดานใต้ พี่น้องของเรา และช่วยเหลือเขาในการสร้างรัฐ เรามีเจตจำนง ที่จะทำให้ซูดานใต้มีเสถียรภาพและเกิดการพัฒนา”

สำหรับประเทศซูดาน มีประชากรจำนวน 8.26 ล้านคน มีพื้นที่ขนาด 644,329 ตารางกิโลเมตร กว่า 51% ประชากรอายุต่ำกว่า 18 ปี
72% ของประชากรอายุต่ำกว่า 30 ปีและ 83% ของประชากรอยู่ในชนบท

นอกจากนี้ 27% ประชากรรู้หนังสือ 51% ประชากรมีความเป็นอยู่ยากไร้ 78% รายได้ครัวเรือนมาจากเกษตรกรรม 55% ประชากรสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและปลอดภัย ทั้งนี้ วันที่ 9 กรกฎาคม 2011 นับเป็นวันเกิดประเทศใหม่ล่าสุด “สาธารณรัฐซูดานใต้”

ธงชาติประจำประเทศซูดานใต้



สีดำ สื่อแทนชาวแอฟริกาผิวสีในซูดานใต้
สีขาว สื่อแทนสันติภาพสำหรับหลายชีวิตที่สูญเสียไป
สีแดง สื่อแทนสายเลือดแห่งความกล้าหาญเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและความยุติธรรมของนักสู้ผู้สูญเสียชีวิตหลายปีก่อนหน้าจากความขัดแย้ง
สีเขียว สื่อแทนศักยภาพทางด้านการเกษตร ฉายภาพผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผักในแถบอากาศร้อนที่มีอยู่ทั่วพื้นที่ชนบทของซูดานใต้
สีน้ำเงิน สือแทนลุ่มแม่น้ำไนล์ ทรัพยากรหลักที่เป็นเสมือนชีวิตของซูดานใต้และซูดานเหนือ
ดาว สื่อแทนความเป็นหนึ่งเดียวของซูดานใต้

โดยรวมของธงชาติซูดานใต้มีความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวผิวสีแห่งแอฟริกาใต้ที่ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่เป็นนิรันดร์ของประชาชนชาวซูดานใต้

ตราสัญลักษณ์ของชาติ


สำหรับ ตราสัญลักษณ์ของชาติ ประกอบด้วย African Fish Eagle คือ พญาอินทรีย์ ที่เป็นสัญลักษณ์ของแอฟริกา พร้อมกับอาวุธ หอก และ กำลังมองไปข้างหน้า ขณะที่ปีกด้านซ้าย-ขวาแผ่ออกไป และมีกรงเล็บที่ยึดชื่อของประเทศไว้ เน้นหนักหรือให้ความสำคัญกับความยุติธรรม อิสรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง พญาอินทรีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงความแข็งแกร่ง มีความยืดหยุ่น และ มีวิสัยทัศน์เพื่อปกป้องประเทศชาติของตน

นกกระทา น่าตาเป็นยังไงน้า?




นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาในบ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยุ่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย

ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา
1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
4. วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี



นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วัน

ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึง ค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้

หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก

การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ

หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกฟักออก

สำหรับการกลับไข่ ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนก

เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนก หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้ว