วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของงา

ประโยชน์ของงา และน้ำมันงา

งาเป็นไม้ล้มลุกและเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Sesamum indicum L. แสดงถึงการพบต้นไม้ชนิดว่าอยู่ในแถบดินแดนโอเรียนเต็ลนี้เอง ซึ่งก็หมายถึงประเทศไทยด้วย มีการปลูกงามากที่ประเทศจีน อินเดียไปจนถึงเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา งาเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสูง 1-2 เมตร มีใบบอบบาง ดอกสีขาวหรือชมพู เมื่อผลแก่จัด จะได้เมล็ดงาจำนวนมากในฝักนั้น

เมล็ดงามีประโยชน์ ประกอบด้วยน้ำมันระหว่าง 46.4 – 52.0% มีโปรตีน 19.8 – 24.2% ซึ่งมีสัดส่วนดี จึงเป็นอาหารที่ดี มีสารมีไธโอนีนและทริพโทแฟ็นสูง มีแคลเซี่ยม โปรแตสเซี่ยมฟอสฟอรัส วิตามินบี และเหล็ก น้ำมันงาที่ดีได้มาจากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อน (cold pressed) น้ำมันงาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของโมเลกุลน้ำมัน และไม่มีสารเคมีตกค้าง

น้ำมันงามีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acids) ระหว่าง 40.9 – 42.0% ชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acids) ระหว่าง 42.5 – 43.3% ซึ่งชนิดหลังนี้ เชื่อว่าช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหัวใจ

สรรพคุณ

งามีไขมันจำเป็นที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ คือกรดไลโนเลอิก ร่างกายจะนำกรดไขมันดังกล่าวไปสร้างฮอโมนพรอสต้าแกลนดินฮีกัน ซึ่งทำหน้าที่ที่ทรงคุณค่าต่อร่างกายมากมายหลายด้านด้วยกัน อาทิ
1.
ช่วยขยายหลอดเลือด
2.
ช่วยลดความดันโลหิต
3.
ป้องกันเกล็ดเลือด (Plate Ket) เกาะกันเป็นลิ่ม ถ้าเกาะกันมากอาจอุดตันหลอดเลือดเล็กๆได้
-
ถ้าอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ก็จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-
ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ก็จะป่วยเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ได้
-
ถ้าลิ่มเลือดอุดตันจอตา อาจทำให้ตาบอดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง

4. ยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลมากเกินไป
5.
งามีแคลเซี่ยมสูงทำให้กระดูกแข็งแรงเพิ่มความหนาให้มวลกระดูก
-
งามีแคลเซี่ยมสูงมากกว่าพืชทั่วไปถึง 40 เท่า ทั้งยังมีฟอสฟอรัสมากถึง 20 เท่า สาร 2 ตัวนี้เป็นธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน จึงควรให้เด็กกินงาจะได้เจริญเติบโตสูงใหญ่ สตรีวัยหมดประจำเดือนก็ควรกินงามากๆ เพราะวัยนี้จะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตเจน ทำให้มีการดึงแคลเซี่ยมาจากกระดูกและฟัน จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกเสี่อม
นอกจากนี้ในงายังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง และเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ร่างกายสดชื่น ดูหนุ่ม - สาวและแก่ช้าลง
ที่สำคัญ งามีเลซิติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบไขมันที่สำคัญมากในเซลล์ประสาท ต่อมไร้ท่อ สมอง หัวใจ ไต ควรรับประทานวันละ 1-2 ช้อนชา แล้วตามด้วยน้ำอุ่น จะทำให้จิตแจ่มใส อารมณ์ดี

เราจะเห็นว่างานั้นมีประโยชน์มากมาย แม้แต่อาหารหลักของชาวมังสวิรัติยังขาดงาไม่ได้ เพราะโปรตีนของคนเราประกอบด้วยกรดอมิโนประมาณ 22 ชนิด แต่กรดอมิโนที่ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้มีอยู่ 9 ชนิดด้วยกัน โปรตีนเหล่านี้มีอยู่ในถั่วเกือบครบถ้วน ยกเว้นกรดอมิโนที่ชื่อ เมทไธโอนีน ผMethionine) ซึ่งมีมากในเมล็ดงา

คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้

มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส ลดการอักเสบ ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง สกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ต้านอนุมูลอิสระ ใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม ช่วยจับสารพิษในกระแสเลือด ช่วยรักษาเหา ลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย ช่วยระบายท้อง

เคล็ดลับก้นครัว
ใช้ประกอบอาหารได้ทุกประเภท ทั้ง ผัด ทอด หมักหมู หมักเนื้อ ทำน้ำจิ้มสุกี้ ดับกลิ่นคาวปลา และอาหารทะเล
สำหรับทอด หรือเจียวไข่ ตั้งน้ำมันงาให้ร้อนรอจนฟองหมด แล้วทอดจะทำให้อาหารที่ทอดกรอบนอกนุ่มใน ไม่อมน้ำมัน อาหารมีรสชาดอร่อยขึ้น โดยไม่มีกลิ่นน้ำมันตกค้างในรสชาดอาหารเลย
ผัดผักกับน้ำ เหยาะเกลือป่นเล็กน้อย ใส่น้ำมันงา 1 ช้อนชา ผักจะหอมและกรอบอร่อย
ผสมในน้ำจิ้มสุกี้ น้ำสลัดเพื่อสุขภาพ

เคล็ดลับงากับความงาม
1.
ใช้หมักผม จะทำให้เส้นผมดกดำ ไม่หลุดร่างง่าย ผมไม่แห้งแตกปลาย ใช้น้ำมันงาหมักผมไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนสระออก

2. ใช้บำรุงผิวหน้า ผิวกาย นวดตัว คลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง ช่วยให้หลอดเลือดขยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น