วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ลั่นทม


ลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)

ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว" เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"

ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี

ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

ความเชื่อคนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]


ดอกลีลาวดีลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก

งานพิธีเสกสมรสระหว่าง เจ้าชายวิลเลียม - เคท มิดเดิลตัน












ยิ่งใหญ่สมการรอคอย สำหรับงานพิธีเสกสมรสระหว่าง เจ้าชายวิลเลียม - เคท มิดเดิลตัน ซึ่งมีแขกราชวงศ์ บุคคลที่มีชื่อเสียง และประชาชนเข้าร่วมรอชมพิธีกันอย่างมาก ซึ่งพิธีเสกสมรสมีขึ้นภายในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยแขกที่เดินทางมาร่วมพิธีสำดับต้น ๆ อาทิ เดวิด เบคแฮม พร้อมภรรยา วิกตอเรีย, เอลตัน จอห์น, โรแวน อัตคินสัน , เชลซี เดวี แฟนสาวของเจ้าชายแฮร์รี และ นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน พร้อมภริยา ตามมาด้วย คาโรล มิดเดิลตัน พร้อม เจมส์ มิดเดิลตัน น้องชายของ เคท มิดเดิลตัน

โดยพิธีเริ่มต้นขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 29 เมษายน (ตามเวลาของประเทศไทย) นำโดยรถขบวนของ เจ้าชายวิลเลียม และเจ้าชายแฮร์รี พระอนุชา วิ่งเข้าสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยมีประชาชนต้อนรับเสด็จฯ รอบมหาวิหาร ซึ่ง เจ้าชายวิลเลียม ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของหน่วยไอริชการ์ด ซึ่งเป็นชุดสีแดงสด โดยชุดดังกล่าวเป็นชุดเครื่องแบบทหารเช่นเดียวกับที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระบิดา ทรงฉลองพระองค์ในพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงไดอานาเมื่อปี 2524

ขณะที่เจ้าชายแฮร์รี ที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของเหล่าทหารม้า และเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้ามายังมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ด้วย โดยฉลองพระองค์ผ้าไทย

หลังจากนั้น เจ้าฟ้าชายชาร์ลส พร้อม คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบว์ลส ดัชเชสส์แห่งคอร์นวอลล์ เสด็จพระราชดำเนินถึงยังมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ตามด้วย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่เสด็จมาพร้อมกับเจ้าชายฟิลิป พระสวามี โดยทรงฉลองพระองค์และพระมาลาสีเหลืองสดใส

ทางด้าน เคท มิดเดิลตัน ในชุดแต่งงานสีขาว พร้อม ไมเคิล มิดเดิลตัน ผู้เป็นบิดา เดินทางออกจากโรงแรมกอริง โดยรถยนต์โรลส์ รอยส์สีดำ โดยได้โบกมือทักทายประชาชนขณะรถเคลื่อนเข้าสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และ เคท มิดเดิลตัน ได้ลงรถเข้าสู่มหาวิหารพร้อมกับ ไมเคิล มิดเดิลตัน และมีนักร้องประสานเสียงร้องต้อนรับ

หลังจากนั้นก็เข้าสู่พิธีปฏิญาณตนในพิธีเสกสมรส โดย อาร์คบิชอป โรแวน วิลเลียมส์ ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ เป็นผู้ทำพิธี ต่อจากนั้น เจ้าชายวิลเลียมทรงสวมพระธำมรงค์ให้กับ เคท มิดเดิลตัน หลังจากนั้นได้ประกาศให้คู่เป็นสามีภรรยาโดยถูกต้อง หลังจากนั้นก็มีการประทานโอวาทแก่ เจ้าชายวิลเลียม - เคท มิดเดิลตัน และนักร้องประสานเสียงบรรเลงเพลงประสานเสียงสรรเสริญพระเจ้า และปิดท้ายด้วยเพลงชาติอังกฤษ "God Save the Queen"

หลังจากนั้น เจ้าชายวิลเลียม พร้อมด้วย เคท มิดเดิลตัน พระชายา ทรงพระดำเนินออกจากมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ประทับรถม้าพระที่นั่งไปยังพระราชวังบักกิงแฮม พร้อมทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนที่เฝ้ารอรับเสด็จ ก่อนจะเสด็จออก ณ สีหบัญชรพระราชวังบักกิงแฮม ตามแบบอย่างพระราชบิดาและพระราชมารดาเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเจ้าชายวิลเลียม ได้จุมพิตพระชายาถึง 2 ครั้ง ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีของประชาชนนับแสนที่รอเฝ้าชมพระบารมี

ทั้งนี้ สำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮม ได้ออกแถลงการณ์ เนื่องด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายวิลเลียม เป็นดยุคแห่งเคมบริดจ์ เอิร์ลแห่งสตาร์ตเฮิร์น และบารอนคาร์ริกเฟอร์กัส พร้อมทรงแต่งตั้งนางสาวเคท มิดเดิลตัน เป็นดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ และใช้ชื่อว่า เจ้าหญิงวิลเลียมแห่งเวลส์ตามพระนามของสวามีด้วย

จากนั้น "ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์" พระอิสริยยศใหม่ ของ เคท มิดเดิลตัน ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้เปลี่ยนสวมชุดราตรียาว ผ้าแพรสีขาวงาช้าง ที่ออกแบบโดย ซาราห์ เบอร์ตัน ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ ของห้องเสื้ออเล็กซานเดอร์แมคควีน อีกครั้ง มาร่วมพิธีเฉลิมฉลองงานเสกสมรส ณ พระราชวังบัคคิงแฮม ในช่วงค่ำวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เป็นการส่วนพระองค์ร่วมกับแขกผู้ทรงเกียรติ 300 คน โดยมีเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เป็นเจ้าภาพ ขณะที่เจ้าชายวิลเลียม ฉลองพระองค์ด้วยชุดสูทสีดำ และผูกหูกระต่าย

ส่วนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จออกจากพระราชวัง ไปพักผ่อนเป็นการส่วนพระองค์ ในอีกสถานที่หนึ่ง เพื่อเปิดทางให้คนหนุ่มสาวได้ฉลองกันอย่างเต็มที่







แขกที่มาร่วมพิธีเสกสมรสเจ้าชายวิลเลียม - เคท มิดเดิลตัน


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ โดยเว็บไซต์เทเลกราฟ ของอังกฤษ และสำนักข่าวบีบีซี (BBC) รายงานว่า ผู้คนเริ่มทยอยเดินทางเข้าสู่บริเวณถนน The Mall ซึ่งเป็นถนนที่ขบวนรถม้าพระที่นั่งจะเคลื่อนผ่านแล้ว โดยแต่ละคนต่างแต่งตัวด้วยสีสันธงชาติของอังกฤษ บางคนก็เพ้นท์หน้าเป็นสีธงชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพิธีเสกสมรสของราชวงศ์ในครั้งนี้ รวมทั้งมีการนับเวลาถอยหลังสู่การเริ่มพิธีกันอย่างคึกคัก และมีการจำหน่ายหมายกำหนดการงานพิธีในราคาเล่มละ 2 ปอนด์ เพื่อนำเงินเข้ามูลนิธิเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ด้วย

ส่วนการรักษาความปลอดภัยในราชพิธีเสกสมรสครั้งนี้ แขกที่มาร่วมงาน 1,900 คนนั้น ส่วนใหญ่ก่อนที่จะเข้าไปในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์นั้น จะต้องถูกตรวจประวัติ บัตรผ่านและเครื่องตรวจโลหะด้านความปลอดภัย โดยวางกำลังตำรวจในเครื่องแบบไว้ 5,000 คน เพราะตำรวจกำลังเฝ้าติดตามผู้ก่อการร้ายชาวไอริช กลุ่มศาสนาหัวรุนแรง และ ผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านราชวงศ์ อย่างไรก็ตาม นางคริสตีน โจนส์ ผู้บัญชาการตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ด กล่าวว่า ยังไม่พบภัยคุกคามจากการก่อการร้าย แต่ก็ต้องเฝ้าระวังเอาไว้เพื่อความปลอดภัย

และเมื่อเวลา 20.30 น. ของวันที่ 28 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณหน้าพระตำหนักคลาเรนซ์ เฮาส์ เจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ได้ปรากฏพระองค์ต่อพสกนิกร ก่อนพิธีเสกสมรสจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางความประหลาดใจของประชาชนที่มาเฝ้าคอยจับจองพื้นที่รับขบวนเสด็จ

รายงานระบุว่า เจ้าชายวิลเลียม ทรงพูดคุยและจับมือทักทาย กับพสกนิกรอย่างเป็นกันเอง ซึ่งประชาชนต่างตะโกนแสดงความยินดีดังกึกก้อง ขณะที่เจ้าชายแฮร์รี พระอนุชา ซึ่งเสด็จมาพร้อมกัน กล่าวชื่นชมและขอบคุณประชาชนด้วยความจริงใจ

วันแรงงานแห่งชาติ


ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ
ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475
การบริหารแรงงาน หมายถึงการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน คุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐานและขบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระการสร้างงานประกอบอาชีพ
เพื่อ พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ.2499 รัฐบาลได้ขยายกิจการสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก พ.ศ.2508 และปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้พระ ราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ในปัจจุบันใช พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
ปัจจุบันการบริหารงานอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม



1 การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้คนมีคุณภาพในการทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน

2 งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงานเพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพเหมาะตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการเศรษฐกิจ

3 การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชน ที่โอกาสศึกษาต่อ

4 งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ

5 งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง




ด้านกรรมกร ได้จัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายกลุ่ม และรวมกันตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมี 3 สภา ได้แก่
1 สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
2 สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
3 สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย